วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การแข่งขันแชร์บอล


วิธีการเล่นกีฬาแชร์บอลในขณะที่เป็นฝ่ายรุก และเป็นฝ่ายรับ

วิธีการเล่นขณะที่เป็นฝ่ายรุก
                เมื่อทำการรุก ผู้เล่นภายในทีมจะต้องรีบเคลื่อนที่เพื่อหาที่ว่าง เพื่อส่งต่อบอลในฝ่ายเดียวกัน เพื่อนำลูกไปอยู่ในแดนรุก ในการรุกอาจจัดตำแหน่งการยืนของผู้เล่นเป็นรูปตัว เอ็ม ( M ) ซึ่งจะทำให้ฝ่ายรุกสามารถรุกเข้าสู่เขตยิงประตูได้ทั้งทางปีกซ้ายและทางปีกขวา












ข้อควรปฏิบัติเมื่อเป็นฝ่ายรุก
1.       เล่นรุกเร็วทุกครั้งที่มีโอกาส
2.       เมื่อไม่สามารถเล่นรุกเร็วได้ จะต้องเล่นตามแผนที่ได้ฝึกซ้อมมา
3.       ส่งลูกบอลต่อให้เพื่อนร่วมทีมแบบง่าย ๆ เพื่อสะดวกต่อการรับ และทำคะแนน
4.       เลือกทางยิงประตูที่ถนัด การยิงประตูทุกครั้งควรต้องหวังผลอย่างน้อย 80 เปอร์เซ็นต์
5.       พยายามศึกษาคู่แข่งขันตั้งแต่เริ่มเล่น จะได้เข้าใจจุดอ่อน และทำการรุกทุกมุมเข้าสู่มุมเป็นจุดอ่อนนั้น
6.       ช่วยกันเล่น ไม่ยืนเฉย ๆ เพื่อดูเพื่อนเล่น และต้องรู้จักช่วยเพื่อนแก้สถานการณ์ 
7.       มีสมาธิในการเล่นตลอดเวลา และไม่เล่นนอกแผนที่ได้เคยฝึกซ้อมมา
8.       ไม่พยายามมากเกินไป เช่น คิดที่จะยิงประตูเพียงคนเดียวแล้วไม่ส่งลูกให้คนอื่น หรือพยายามสกัดให้แน่นอนจนกลายเป็นฟาล์วโดยที่ไม่น่าฟาล์ว
9.       ไม่จ้องมองทางผู้ที่รับลูกมาเกินไป จะถูกคู่แข่งขันดักทางส่งลูกบอลได้
วิธีการเล่นขณะที่เป็นฝ่ายรับ

                ฝ่ายป้องกันควรจัดตำแหน่งการยืนเป็นรูปตัว ดับเบิ้ลยู ( W ) เพราะจะได้มีผู้ป้องกันประตูจากการยิงของคู่ต่อสู้ที่ทำการรุกขึ้นมาทั้งทางปีกซ้ายและทางปีกขวา และพยายามประกบให้แน่นหนาโดยการกำบังและสกัดกั้น หรือพยายามตัดแย่งลูกให้ได้





 






ข้อควรปฏิบัติเมื่อเป็นฝ่ายรับ
1.           ต้องส่งเสียงบอกเพื่อนร่วมทีมอยู่เสมอ ให้ทุกคนช่วยเหลือกันสร้างความกดดันให้กับฝ่ายรุก
2.           ถ้าจะตัดแย่งลูกบอลจากฝ่ายรุก ต้องมั่นใจเต็มที่ อย่าเสี่ยงโดยไม่จำเป็น
3.           ถ้าเป็นการป้องกันแบบตัวต่อตัว ต้องมองกว้าง ๆ ไว้อย่าหันหน้ามองดูแต่ลูกบอลอย่างเดียว จะต้องจับตาการเคลื่อนที่ของฝ่ายรุกอีกด้วย
4.           เท้าเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ไม่ปักหลักเท้าตายอยู่กับที่
5.           จัดตำแหน่งให้อยู่ในจุดที่สามารถกั้นขวางเส้นทางคู่แข่งขณะที่จะข้ามแดนมายิงประตู
6.           พยายามบังคับให้ผู้เล่นที่ครอบครองบอลยิงประตูจากระยะไกล
7.           ป้องกันด้วยท่าทางเตรียมพร้อม พร้อมเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา

ทักษะพื้นฐานการเล่นแชร์บอล


ทักษะการส่งบอล


การส่งบอล ( Passing )






การส่งบอลสองมือระดับอก ( The Two-Handed Chest Pass )
เป็นการส่งบอลที่นิยมใช้กันเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นพื้นฐานใน การส่งบอล ใช้เมื่อไม่มีผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามโดยส่งบอลไป-มาระหว่างผู้เล่นข องทีม วิธีการฝึก ให้ถือลูกบอลสองมือระดับอกดึงบอลเข้าหาลำตัว,เก็บศอก,กางนิ้วมือออก ขณะปล่อยลูกบอลแขนและมือเหยียดออกและสลัดข้อมือเพื่อช่วยส่งแรง

การส่งบอลสองมือกระดอนพื้น ( The Two-Handed Bounce Pas )
เป็นวิธีการส่งบอลขั้นพื้นฐาน ใช้เมื่อส่งบอลให้เพื่อนร่วมทีมที่ถูกป้องกันทางด้านหลัง หรือผู้เล่นฝ่ายป้องกันพยายามแย่งบอลจากด้านหน้า หรือขณะที่การส่งบอลสองมือระดับไม่สามารถใช้ได้

การส่งบอลสองมือเหนือศีรษะ ( The Two-Handed Overhead Pass )
เป็นการส่งบอลให้กับผู้เล่นตำแหน่งเสาหลัก (Post ) ล่างและบน บางครั้งใช้กับการเล่นลูกเร็ว ( Fast Break ) หรือการส่งบอลเข้าเล่น

การส่งบอลมือเดียวเหนือไหล่ ( The One-Hand (Baseball) Pass )
เป็นการส่งบอลที่มีระยะไกลประมาณครึ่งสนามซึ่งปกติการส่งสองมือ ไม่สามารถส่งได้ แต่ไม่เหมาะกับการส่งบอลที่มีระยะไกลมากเกินไป ใช้ประโยชน์สำหรับการส่งบอลเร็ว ( Fast Break )

กติกาการแข่งขัน

กติกาการแข่งขัน


กติกาข้อ 1 สนามแข่งขัน
1.1 สนามเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 16 เมตร (เส้นหลัง) ยาว 32 เมตร (เส้นข้าง) สนามแบ่งเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน ด้วยเส้นแบ่งแดน ขนาดสนามนี้จะเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยมีบริเวณเขตรอบสนามอย่างน้อย 1 เมตร ถ้าเป็นสนามในร่มความสูงจากพื้นสนามขึ้นไปไม่ควรน้อยกว่า 6 เมตร
1.2 วงกลมกลางสนาม ที่จุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน ให้เขียนวงกลมรัศมี 1.80 เมตร
1.3 เขตผู้ป้องกันตะกร้า ที่จุดกึ่งกลางของเส้นหลังทั้งสองด้าน เขียนครึ่งวงกลม รัศมี 3.00 เมตร ในสนามเล่น เขตนี้เรียกว่า เขตผู้ป้องกันตะกร้า
1.4 เส้นโทษ ถัดจากจุดกึ่งกลางเส้นหลังเข้าไปในสนาม 8.00 เมตร ลากเส้นให้ขนานกับเส้นหลังยาว 50 เซนติเมตร (โดยลากให้กึ่งกลางของเส้นอยู่ที่กึ่งกลางของความกว้าง)
1.5 เส้นทุกเส้นกว้าง 5 เซนติเมตร (สีขาว) และเป็นส่วนหนึ่งของเขตนั้น

กติกาข้อ 2 อุปกรณ์การแข่งขัน
2.1 เก้าอี้ เป็นเก้าอี้ชนิด 4 ขา มีความแข็งแรงมั่นคง ไม่มีพนักพิง สูง 35-40 เซนติเมตร ขนาดของที่นั่ง กว้าง 30-35 เซนติเมตร หรือเป็นเก้าอี้ที่มีขนาดใกล้เคียงและเป็นชนิดเดียวกันทั้งสองตัว เก้าอี้นี้วางไว้ที่จุดกึ่งกลางของเส้นหลัง โดยให้ขาหน้าของเก้าอี้ทั้งสองขาวางอยู่บนเส้นสนาม
2.2 ตะกร้า ขนาดสูง 30-35 เซนติเมตร ปากตะกร้าเป็นรูปทรงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 30-35 เซนติเมตร ทำด้วยหวายที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้เล่น หรือวัสดุอื่น ๆ ที่ไม่เกิดอันตราย มีน้ำหนักเบาเท่ากัน
2.3 ลูกบอล ใช้ลูกแชร์บอล หรือลูกฟุตบอลขนาดเบอร์ 4-5 หรือลูกที่ฝ่ายจัดการแข่งขันรับรอง ซึ่งฝ่ายจัดการแข่งขัน จะต้องแจ้งให้ผู้แข่งขันทราบก่อนในระเบียบการแข่งขัน
2.4 นาฬิกาจับเวลา 2 เรือน ใช้สำหรับจับเวลานอก และเวลาแข่งขัน
2.5 ใบบันทึกการเข่งขัน
2.6 ป้ายคะแนน
2.7 สัญญาณหมดเวลาการแข่งขัน (นกหวีด ระฆัง กริ่ง ฯลฯ)
2.8 ป้ายบอกจำนวนครั้งของการฟาวล์ (ถ้ามี)

กติกาข้อ 3 เวลาการแข่งขัน
3.1 เวลาการแข่งขัน แบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 20 นาที พักระหว่างครึ่ง 5 นาที (เวลาการแข่งขันนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมกับนักกีฬา โดยต้องแจ้งไว้ในระเบียบการแข่งขันก่อน)
3.2 เวลาการแข่งขันเริ่มขึ้นเมื่อ ผู้ตัดสินได้โยนลูกบอลขึ้นระหว่างผู้เล่นสองคนของแต่ละฝ่ายที่อยู่ในวงกลม และลูกบอลได้ถูกผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแล้ว
3.3 เมื่อเริ่มแข่งขันครึ่งเวลาหลัง และเวลาเพิ่มพิเศษแต่ละช่วงให้เปลี่ยนแดนกัน
3.4 เวลานอก ให้แต่ละทีมขอเวลานอกได้ครึ่งเวลาละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที
3.5 การต่อเวลาการแข่งขัน เมื่อผลการแข่งขันเสมอกัน ให้ต่อเวลาเพิ่มพิเศษอีกช่วงละ 5 นาที จนกว่าจะมีผลแพ้ชนะกันหรือจะมีข้อตกลงเป็นอย่างอื่น
3.6 การขอเวลานอกในเวลาเพิ่มพิเศษ ให้ขอเวลานอกได้ช่วงละ 1 ครั้ง
3.7 ชุดใดที่มาแข่งขันช้ากว่ากำหนดเวลาการแข่งขัน 15 นาทีให้ปรับเป็นแพ้

กติกาข้อ 4 ผู้เล่น
4.1 ชุดหนึ่งประกอบไปด้วยผู้เล่น 12 คน เป็นผู้เล่นในสนาม 7 คน ผู้เล่นสำรอง 5 คน ผู้เล่นสำรองและเจ้าหน้าที่ประจำทีม ต้องนั่งที่ที่คณะกรรมการจัดไว้ให้
4.2 เมื่อเริ่มทำการแข่งขัน ต้องมีผู้เล่นในสนามฝ่ายละ 7 คนและในระหว่างการแข่งขันฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีผู้เล่นน้อยกว่า 5 คน ให้ปรับแพ้
4.3 ผู้เล่นสำรองจะเข้าเล่นได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสินและต้องทำการเปลี่ยนตัวที่บริเวณเส้นแบ่งแดนด้านเดียวกับโต๊ะเจ้าที่จัดการแข่งขัน (เขตเปลี่ยนตัว)
4.4 ผู้เล่นแต่ละชุดต้องสวมเสื้อที่มี่สีเดียวกัน และติดหมายเลขที่ด้านหน้า ขนาดสูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร ที่ด้านหลังขนาดสูงไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร ใช้หมายเลข 1 – 12 สีของหมายเลขต้องแตกต่างจากสีเสื้ออย่างชัดเจน
4.5 ห้ามผู้เล่นสวมเครื่องประดับที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่น

กติกาข้อ 5 ผู้ป้องกันตะกร้า
5.1 ผู้ป้องกันตะกร้าเพียงคนเดียวเท่านั้น ที่มีสิทธิ์เข้าไปในเขตป้องกันตะกร้าได้
5.2 ผู้ป้องกันตะกร้าสามารถเคลื่อนที่ไปในเขตป้องกันตะกร้าพร้อมกับลูกบอลได้ โดยปราศจากข้อจำกัด ภายในเวลา 3 วินาที
5.3 ผู้ป้องกันตะกร้าสามารคออกมาร่วมเล่นในสนามเล่นได้แต่ต้องปฏิบัติตนเหมือนผู้เล่นในสนามทั่ว ๆ ไป
5.4 การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้ป้องกันตะกร้าโดยไม่แจ้งและละเมิดกติกาอย่างร้ายแรง ผู้ตัดสินจะให้ออกจากการแข่งขัน (ไล่ออก)

การทำผิดกติกาของผู้ป้องกันตะกร้า

5.5 ทำการป้องกันในลักษณะถูกต้องตัวและอุปกรณ์ (ตะกร้า) ของฝ่ายรุก
5.6 เจตนาทำให้ลูกบอลออกเส้นหลัง (ส่งเข้าเล่นที่มุมสนาม)
5.7 นำลูกบอลจากสนามเล่นเข้าไปในเขตป้องกันตะกร้า
5.8 ถูกลูกบอลที่อยู่ในสนามเล่นในขณะที่ลูกบอลวาง กลิ้งหรือลอยอยู่โดย 5.2 และ 5.3 ห้ามนำลูกบอลเข้าเขตป้องกัน
5.9 ขณะที่ลูกบอลกำลังลอยอยู่ในทิศทางของการยิงประตูเหนือตะกร้า ผู้ป้องกันตะกร้า เจตนาปัดตะกร้าถูกตัวผู้ถือตะกร้าให้เก้าอี้หรือส่วนอื่น ๆ ของเก้าอี้เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน (ถ้าลูกลงตะกร้าให้ได้คะแนน ถ้าลูกไม่ลงตะกร้าให้ยิงโทษและบันทึกการฟาล์ว)

กติกาข้อ 6 ผู้ถือตะกร้า
6.1 ต้องอยู่บนเก้าอี้พร้อมกับตะกร้า
6.2 ไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมเล่นกับผู้เล่นในสนามขณะกำลังแข่งขัน (ส่งข้าง)
6.3 ห้ามใช้ตะกร้าหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย กีดกันการป้องกันของผู้ป้องกันตะกร้า (ส่งข้าง)
6.4 สามารถเคลื่อนไหวตะกร้าได้ทุกลักษณะ
6.5 ผู้ถือตะกร้า ต้องใช้ตะกร้ารับลูกบอลจากการยิงประตูทุกลักษณะทิศทาง และต้องทรงตัวอยู่บนเก้าอี้ได้อย่างมั่นคง

กติกาข้อ 7 เขตผู้ป้องกันตะกร้า
7.1 เขตป้องกันตะกร้าเป็นพื้นที่ของป้องกันตะกร้าเพียงคนเดียวเท่านั้น
7.2 ผู้เล่นในสนามเข้าไปในเขตป้องกันตะกร้า จะถูกลงโทษดังนี้
7.2.1 ฝ่ายป้องกัน เข้าไปในขณะที่มีการยิงประตู ถ้าลูกบอลลงตะกร้าให้ได้คะแนน ถ้าลูกบอลไม่ลงตะกร้าให้ยิงลูกโทษ
7.2.2 ฝ่ายป้องกันเข้าไปในขณะที่ไม่มีการยิงประตู (ส่งข้าง)
7.2.3 ฝ่ายรุก เข้าไปในเขตป้องกันตะกร้าของฝ่ายตรงข้าม (ส่งข้าง)
7.3 ลูกบอลที่วาง หรือกลิ้งอยู่ในเขตป้อกันตะกร้าเป็นผู้ป้องกันตะกร้า และจะต้องเล่นอย่างทันที

กติกาข้อ 8 การเล่นลูกบอล
อนุญาตให้ผู้เล่นกระทำ ดังนี้
8.1 จับ ตี ปัด กลิ้ง ส่ง หรือขว้างลูกบอลด้วยมือ แขน ศีรษะ หรือลำตัวบริเวณเหนือสะเอวขึ้นไป
8.2 ครอบครองลูกบอลด้วยมือเดียวหรือสองมือ หรือกดลูกบอลที่อยู่บนพื้นสนาม หรือโยนลูกบอลขึ้นในอากาศได้ภายในเวลาไม่เกิน 3 วินาที
8.3 ถือลูกบอลและเคลื่อนไหวไปมาได้ด้วยการหมุนตัวโดยมีเท้าหลัก
8.4 กระโดดรับ ส่ง หรือยิงประตู
8.5 ใช้ลำตัวบังคู่ต่อสู้ ในขณะที่กำลังครอบครองลูกบอลอยู่
ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นกระทำ ดังนี้
8.6 ห้ามเลี้ยงลูกบอล (ส่งข้าง) ยกเว้นกรณีการรับลูกไม่ได้ (FUMBLE) หรือการตัดลูกบอล
8.7 เจตนาพุ่งตัวลงเพื่อครอบครองลูกบอล (ส่งข้าง)
8.8 เล่นลูกบอลด้วยส่วนหนึ่งส่วนใด ตั้งแต่สะเอวลงไป (ส่งข้าง)
8.9 ยื่นลูกบอลให้เพื่อนร่วมทีมด้วยมือต่อมือ (บันทึกการฟาวล์)
8.10 ทำให้คู่ต่อสู้ได้รับอันตรายโดยใช้ลูกบอล (ยิงโทษ)
8.11 ทุบ ตบ ตี ลูกบอลจากมือคู่ต่อสู้ (ส่งข้าง)
8.12 กีดขวางคู่ต่อสู้ด้วยมือ แขน ขา หรือลำตัวในลักษณะที่เป็นอันตรายกับคู่ต่อสู้ (ขัดขวาง)
8.13 ดึง ดัน ผลัก ชก ชน เตะ คู่ต่อสู้ทุกลักษณะ (ส่งข้างหรือยิงโทษ หรือตัดสิทธิ์ให้ออกจากการแข่งขัน)
8.14 ทำผิดกติกาอย่างร้ายแรงกับคู่ต่อสู้ (ยิงโทษ และตัดสิทธิ์ให้ออกจากการ

กติกาข้อ 9 การได้คะแนน
9.1 จะนับคะแนนเมื่อลูกบอลได้ลงตะกร้าจากการยิงประตูโดยตรง โดยผู้ถือตะกร้าต้องทรงตัวอยู่บนเก้าอี้อย่างมั่นคง และผู้ตัดสินในสนามได้ให้สัญญาณนกหวีดแล้ว
9.2 ผู้เล่นฝ่ายป้องกันพยายามป้องกันโดยผิดกติกา ถ้าลูกบอลลงตะกร้า ให้นับว่าได้คะแนน
9.3 ถ้าผู้จับ เวลาให้สัญญาณหมดเวลาการแข่งขันก่อนที่ลูกบอลจะหลุดจากมือผู้ยิงประตูถือว่าไม่ได้คะแนน
9.4 หลังจากลูกบอลลงตะกร้าจาการยิงประตูธรรมดาหรือหลังจากการยิงโทษได้ผล ผู้ป้องกันตะกร้าต้องนำลูกบอลส่งเข้าเล่นจากเขตป้องกันตะกร้า
9.5 คะแนนที่ได้จากการยิงประตู มีค่า 2 คะแนน คะแนนที่ได้จากการยิงโทษมีค่าครั้งละ 1 คะแนน
9.6 ฝ่ายที่ทำคะแนนได้มากกว่าเป็นฝ่ายชนะในการแข่งขัน

กติกาข้อ 10 การเริ่มเล่นและการโยนลูกกระโดด
10.1 การเริ่มเล่นในครึ่งเวลาแรก และครึ่งเวลาหลัง เวลาเพิ่มพิเศษ และการหยุดเล่นอื่น ๆ ที่ต้องทำลูกกระโดด จะเริ่มโดยผู้ตัดสินเป็นผู้โยนลูกกระโดดที่วงกลมกลางสนาม ระหว่างผู้กระโดด
10.2 ตัดสินเป็นผู้โยนลูกกระโดดขึ้นไปบนอากาศ ในแนวดิ่งระหว่างผู้กระโดดทั้งสองฝ่าย
10.3 ผู้เล่นอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ผู้กระโดดต้องอยู่นอกวงกลม ณ ที่ใด ๆ ก็ได้ในเขตสนามแข่งขัน
10.4 จะโยนลูกกระโดดเมื่อ
10.4.1 เริ่มการแข่งขันครึ่งเวลาแรก ครึ่งเวลาหลังและเวลาเพิ่มพิเศษ
10.4.2 เมื่อมีการหยุดเล่นโดยที่ไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำผิดกติกา
10.4.3 เมื่อเกิดลูกยึดของผู้เล่นทั้งสองฝ่าย (ผู้ทำลูกยึดต้องมาเป็นผู้กระโดด)
10.4.4 เมื่อทั้งสองฝ่ายทำผิดกติกาพร้อมกัน ให้ฝ่ายที่ครอบครองบอลส่งบอลเข้าเล่นต่อ หลังจากบันทึกฟาวล์ทั้ง 2 คน
10.5 ผู้กระโดดต้องปัดลูกบอลในขณะที่ลูกบอลลอยอยู่ในจุดสูงสุดได้คนละไม่เกิน 2 ครั้ง จากนั้นผู้กระโดดจะถูกลูกบอลอีกไม่ได้ จนกว่าลูกบอลจะได้ถูกผู้เล่นคนอื่น ๆ

กติกาข้อ 11 การส่งลูกเข้าเล่นจากเส้นข้าง
11.1 จะส่งลูกเข้าเล่น เมื่อลูกบอลทั้งลูกได้ผ่านเส้นข้างหรือเส้นหลังและถูกพื้นที่นอกสนามแข่งขัน (ลุกลอยในอากาศยังไม่ถือว่าเป็นลูกออก)
11.2 ผู้เล่นฝ่ายรับทำลูกบอลออกเส้นหลัง ให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามส่งลูกเข้าเล่นจากมุมสนามด้านที่ลูกบอลออก
11.3 ผู้เล่นฝ่ายรุกทำให้ลูกบอลออกเส้นหลัง ให้ฝ่ายตรงข้ามนำลูกมาส่งเข้าเล่นจากเส้นข้างมุมสนามด้านที่ลูกออก
11.4 ผู้ส่งลุกเข้าเล่นจะส่งด้วยวิธีใดก็ได้ภายในกำหนด 5 วินาที หลังจากผู้ตัดสินส่งลูกบอลให้ผู้เล่นแล้ว
11.5 ผู้ตัดสินจะส่งลูกบอลให้ผู้เล่นส่งเข้าเล่น ในกรณีที่มีการส่งบอลเข้าเล่นทุกครั้ง
11.6 จะให้ส่งลุกเข้าเล่นเมื่อผู้ป้องกันตะกร้าและผู้เล่นฝ่ายรุกมีความพร้อมที่จะเล่น จะต้องส่งลูกบอลเข้าเล่น เมื่อผู้ตัดสินส่งบอลให้หรือผู้ตัดสินเป่านกหวีดให้ส่ง ภายในเวลา 5 วินาที

กติกาข้อ 12 การยิงโทษ
จะให้ยิงโทษเมื่อ
12.1 ผู้ป้องกันตะกร้า
12.1.1 ทำการป้องกันในลักษณะที่เป็นอันตรายกับคู่ต่อสู้ (ข้อ 5.5)
12.1.2 นำลูกบอลจาสนามเล่นเข้าไปในเขตป้องกันตะกร้า (ข้อ 5.7)
12.1.3 เจตนาปัดตะกร้าถูกตัวผู้ถือตะกร้าใช้เก้าอี้หรือส่วนอื่น ๆ ของเก้าอี้เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน (ข้อ 5.9 )
12.2 ผู้เล่นอื่น ๆ ในสนาม
12.2.1 ฝ่ายป้องกันเข้าไปในเขตประตูคณะมีการยิงประตู (ข้อ 7.2.1)
12.2.2 เจตนาทำให้คู่ต่อสู้ได้รับอันตรายโดยใช้ลูกบอล (ข้อ 8.10)
12.2.3 ดึง ดัน ผลัก ชน ชก เตะคู่ต่อสู้ (ข้อ 8.13)
12.2.4 ทำผิดกติการอย่างร้ายแรงกับคู่ต่อสู้ และผู้ตัดสิน (ข้อ 8.14 )
12.2.5 การฟาวล์โดยเจตนา (ข้อ 14.1.2)
12.3 ผู้ยิงโทษต้องเป็นผู้เล่นที่กำลังอยู่ในสนาม
12.4 ต้องยิงโทษภายใน 3 วินาที หลังจากผู้ตัดสินได้ส่งบอลให้
12.5 ผู้ยิงโทษต้องไม่ให้เท้าสัมผัสเส้นโทษ
12.6 จะยิงโทษด้วยวิธีใด ๆ ก็ได้
12.7 ผู้ป้องกันตะกร้าและผู้เล่นอื่น ๆ ทั้งสองฝ่ายต้องอยู่ห่างจากผู้ยิงโทษอย่างน้อย 3 เมตร
12.8 ผู้ถือตะกร้าอยู่ขนเก้าอี้พร้อมตะกร้า จะถือตะกร้าอยู่ในลักษณะ

กติกาข้อ 13 การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
13.1 จะทำการเปลี่ยนตัว ผู้ล่นได้เมื่อลูกตาย และฝ่ายที่ขอเปลี่ยนตัวเป็นครอบครองลูกบอลอยู่ หรือเมื่อมีการยิงโทษ
13.2 ผู้เล่นที่จะเปลี่ยนตัวเข้าเล่นต้องเปลี่ยนตัวที่บริเวณเขตการเปลี่ยนตัวเท่านั้น
13.3 จะเปลี่ยนหน้าที่การเล่นได้เมื่อได้แจ้งให้ผู้ตัดสินทราบขณะที่ลูกตาย
13.4 ผู้เล่นที่กระทำฟาวล์ครบ 5 ครั้ง ต้องออกจากการแข่งขัน แต่สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นอื่น ๆ เข้าแทนได้
13.5 ผู้เล่นที่ถูกให้ออกจากการแข่งขัน สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นอื่น ๆ เข้าแทนได้

กติกาข้อ 14 การทำฟาวล์ การบันทึกฟาวล์ การทำผิดมารยาท และการลงโทษของนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ประจำทีม
14.1 การทำฟาวล์ต้องบันทึกทุกครั้ง
14.1.1 ผู้เล่นที่กระทำการฟาวล์ครบ 5 ครั้ง ต้องออกจากการแข่งขัน
14.1.2 การฟาวล์โดยเจตนา จะถูกลงโทษโดยการยิงโทษ
14.1.3 การฟาวล์ขณะยิงประตู ให้บันทึกเป็นการฟาวล์ 1 ครั้ง (ยิงโบนัส)
14.2 การทำผิดมารยาทของนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ประจำทีม
14.2.1 การทำผิดซ้ำ ๆ
14.2.2 การแสดงที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬา
14.2.3 การใช้วาจาไม่สุภาพ
ให้บันทึกการฟาวล์ผู้ฝึกสอน ถ้าผู้ฝึกสอนฟาวล์ 3 ครั้งให้ออกจากการเป็นผู้ฝึกสอน และให้ลงโทษยิงประตู 1 ครั้ง และส่งบอลเข้าเล่นที่กลางสนาม
14.3 การลงโทษ 3 ขั้นตอน
14.3.1 เตือนและบันทึก
14.3.2 ยิงโทษและบันทึก
14.3.3 ให้ออกจากการแข่งและบันทึก

กติกาข้อ 15 ผู้ตัดสิน
15.1 การแข่งขันครั้งหนึ่งประกอบด้วยผู้ตัดสิน 2 คน
15.2 ผู้ตัดสินมีหน้าที่ควบคุมการแข่งขัน ตั้งแต่เริ่มเล่นจนถึงสิ้นสุดการแข่งขัน
15.3 ผู้ตัดสินต้องทำการเสี่ยงเพื่อเลือกแดนต่อหน้า หัวหน้าชุดทั้งสองทีม
15.4 ขณะทำการแข่งขัน ถ้าผู้ตัดสินไม่สามารถทำการตัดสินได้ตลอดการแข่งขัน คณะกรรมการจัดการแข่งขันสามารถจัดหาผู้ตัดสินสำรองเข้าทำหน้าที่แทนได้ หรืออาจปฏิบัติหน้าที่เพียงคนเดียวถ้าไม่สามารถหาผู้อื่นแทนได้
15.5 ผู้ตัดสินเป่านกหวีดเมื่อ
15.5.1 ลูกออก
15.5.2 มีการทำผิดกติกาทุกชนิด
15.5.3 มีการยิงประตูโทษได้ผล
15.5.4 มีการให้เวลานอก
15.5.5 หมดเวลานอก
15.5.6 เกิดการบาดเจ็บ
15.5.7 เกิดลูกยึด
15.5.8 ผู้ตัดสินขอเวลานอก
15.5.9 หมดเวลาการแข่งขัน
15.5.10 การเตือนและอื่น

กติกาข้อ 16 เจ้าหน้าที่
เจ้าหน้าที่ประกอบด้วย
16.1 ผู้บันทึก 1 คน
16.2 ผู้จับเวลา 1 คน
16.3 ผู้ใส่ป้ายคะแนน 1 คน

๑ กฏและกติกาในการเล่นแชร์บอล
๑) จำนวนผู้เล่น กีฬาแชร์เป็นกีฬาประเภททีม ประกอบด้วยผู้เล่น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๗ คน และมีผู้เล่นสำรองฝ่ายละ ๕ คน โดยเป็นผู้ถือตะกร้า ๑ คน ผู้เล่นแดนหน้า ๓ คน ผู้เล่นแดนหลัง ๓ คน ผู้ที่เล่นแดนหลังที่อยู่ตรงกลางยืนในเขต ๓ เมตร คอยป้องกันประตู
๒) สนามที่ใช้เล่น สนามจะต้องเป็นพื้นเรียบแข็ง โดยจะเป็นสนามในร่มหรือกลางแจ้งก็ได้ มีลักษณะ ดังนี้
(๑) สนามรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๓๒ เมตร
(๒) มีเส้นแบ่งแดนตรงกึ่งกลางสนาม
(๓) ที่จุดกึ่งกลางเส้นแบ่งแดน มีวงกลมรัศมี ๘๐ เซนติเมตร
(๔) เขตผู้ป้องกันประตูอยู่ที่จุดกึ่งกลางของเส้นหลังทั้งสองด้านเขียนเส้นครึ่งวงกลมรัศมี ๓ เมตร
(๕) เส้นโทษ ห่างจุดกึ่งกลางเส้นหลัง ๘ เมตร
๓) อุปกรณ์การแข่งขัน มีดังนี้
- เก้าอี้มีพนักพิง
- ลูกบอล
- ตะกร้าหวาย
- นกหวีด
๔) เวลาในการแข่งขัน แบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ช่วงละ ๒๐ นาที พักระหว่างครึ่ง ๕ นาที
๕) วิธีเล่นให้ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายเสี่ยงเลือกแดน แล้วเข้าประจำที่เริ่มเล่นเมื่อผู้ตัดสินโยนลูกบอลขึ้นระหว่างผู้เล่นสองคนของแต่ละฝ่ายที่อยู่ในวงกลม ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายกระโดดปัดลูกบอลให้ฝ่ายของตนรับแล้วพยายามยิงประตูของฝ่ายตนเอง และป้องกันไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามครอบครองหรือนำลูกบอลไปยิงประตูในตะกร้าของฝ่ายตรงข้ามได้
๖) การได้คะแนนถ้าฝ่ายใดสามารถนำลูกบอลไปยิงลงในตะกร้าของฝ่ายตนเองจะได้ ๒ คะแนน แต่ถ้าโยนลูกโทษลงตะกร้าจะได้ ๑ คะแนน โดยลูกที่ได้คะแนนต้องเป็นลูกที่ลอยกลางอากาศแล้วลงตะกร้าและผู้ที่ถือตะกร้าต้องยืนบนเก้าอี้ขณะรับลูกบอล เมื่อจบการแข่งขันฝ่ายใดทำคะแนนได้มากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะ
เมื่อฝ่ายใดทำประตุได้หรือทำลูกออกทางเส้นหลัง ให้อีกฝ่ายเป็นผู้โยนลูกเข้ามาเล่นใหม่ โดยโยนจากเส้นนอกที่อยู่นอกประตู
๗) การเล่นลูกบอล
อนุญาตให้ผู้เล่นกระทำ ดังนี้
(๑) หยุด จับ ตี ปัด กลิ้งส่ง หรือขว้างลูกบอลด้วยมือ แขน ศีรษะ และลำตัวเหนือเอวขึ้นไปได้
(๒) ครอบครอบลูกบอลด้วยมือเดียวหรือสองมือ หรือกดลูกบอลที่อยู่บนพื้นสนาม หรือโยนลูกบอลขึ้นในอากาศในเวลาได้ไม่เกิน ๓ วินาที
(๓) ถือลูกบอลและเคลื่อนไหวไปมาได้ด้วยการหมุนตัวโดยมีเท้าหลัก
(๔) กระโดดรับ ส่ง หรือยิงประตู
(๕) ใช้ลำตัวบังคู่ต่อสู้ ในขณะที่กำลังครอบครองลูกบอลอยู่
ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นกระทำ ดังนี้
(๑) ห้ามเลี้ยงหรือทุ่มลูกบอลลงบนพื้นสนามแล้วรับไว้อีก
(๒) ห้ามปัดหรือแย่งลูกบอลซึ่งอยู่ในมือของอีกฝ่ายหนึ่ง
(๓) ห้ามเล่นลูกบอลด้วยส่วนหนึ่งส่วนใดตั้งแต่เอวลงไป
(๔) ห้ามยื่นลูกบอลให้เพื่อนร่วมทีมด้วยมือต่อมือ
(๕) ห้ามเล่นรุนแรง
(๖) ห้ามเข้าไปในเขตประตู แต่ผู้ป้องกันประตูออกนอกเขตประตูได้
(๗) ห้ามผู้ป้องกันประตูถูกเก้าอี้ ตัวประตู หรือตะกร้า เพื่อแย่งหรือปัดลูกบอล